ลักษณะทั่วไปของพญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) : Alstonia scholaris (L.) R. Br.

ชื่อสามัญ (Common name) : Devil Tree, White Cheesewood, Black Board Tree, Dita Bark

ชื่อเรียกอื่น (Other names) : พญาสัตบรรณ ตีนเป็ดไทย หัสบรรณ (กาญจนบุรี)

ชื่อวงศ์ (Family name) : APOCYNACEAE

ลักษณะ (Characteristics) : ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร โคนต้นเป็นพูพอนเปลือกสีเทา ผิวลำต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ
สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาว ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก แตกกิ่งออกรอบข้อ ลักษณะเป็นชั้น ๆ
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกรอบข้อ 
4-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียว ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว รูปใบหอกกลับแกม
ขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายกลมหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบแหลมหรือเป็นครีบ เส้นใบถี่
ขนาดใบยาวประมาณ
10-12 เซนติเมตร
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้นคล้ายฉัตร ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ
7 กลุ่ม
ดอกมีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่น กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยก
5 แฉก เกสรตัวผู้ 5 อัน
ผล เป็นฝักรูปกลมยาว เมื่อแก่แตกเป็น 
2 ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก  มีปุย ปลิวตามลม

การกระจายพันธุ์ (Distribution) : โดยเมล็ด


ช่วงเวลาการออกดอก (Flowering Time) : ตุลาคม - ธันวาคม เริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม   
เมล็ดแก่ประมาณเดือนมีนาคม


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรรพคุณ